ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจโรคท่อปัสสาวะตีบ (Urethral stricture)  (อ่าน 57 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 589
    • ดูรายละเอียด
ตรวจโรคท่อปัสสาวะตีบ (Urethral stricture)
« เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2024, 05:28:01 am »
ตรวจโรคท่อปัสสาวะตีบ (Urethral stricture)

ท่อปัสสาวะมีภาวะตีบแคบกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเกิดรอยแผลเป็นจากการบาดเจ็บหรือการอักเสบของท่อปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะลำบาก มีปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะ และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา

โรคนี้พบมากในผู้ชาย พบได้น้อยในผู้หญิง เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าผู้หญิงมาก จึงมีโอกาสได้รับอันตรายหรือเกิดความผิดปกติได้มากกว่า ทำให้เกิดการตีบของท่อปัสสาวะได้ตลอด อาจเกิดตรงส่วนต้น ส่วนกลางหรือส่วนปลายของท่อปัสสาวะก็ได้ 


สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บต่อท่อปัสสาวะ การใส่สายสวนปัสสาวะหรือการสอดใส่เครื่องส่องตรวจทางเดินปัสสาวะ การผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก หรือการฉายรังสีต่อมลูกหมาก 

นอกจากนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อ (เช่น หนองใน หนองในเทียม ต่อมลูกหมากอักเสบ ทำให้ท่อปัสสาวะมีการอักเสบ และกลายเป็นแผลเป็นจนทำให้ท่อปัสสาวะตีบ) ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งท่อปัสสาวะ

บางรายอาจมีความผิดปกติมาแต่กำเนิด หรือไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน


อาการ

มีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะออกลำบากต้องใช้แรงเบ่ง ปัสสาวะบ่อย แต่ออกทีละน้อย ไม่พุ่ง หรือออกเป็นหยด มีความรู้สึกถ่ายไม่สุดหรืออยากถ่ายอยู่เรื่อย ๆ เวลามีความรู้สึกปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือปัสสาวะเล็ด บางรายอาจพบมีเลือดในปัสสาวะ


ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการถ่ายไม่ออกเลย และมีอาการปวดท้องน้อย เนื่องจากมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

ในรายที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบแทรกซ้อน จะมีอาการขัดเบา ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะขุ่น ปวดท้อง ปวดเอว หรือมีไข้หนาวสั่น


ภาวะแทรกซ้อน

หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน อาทิ

    ท่อปัสสาวะเกิดการตีบตัน ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเลย มีปัสสาวะคั่งเต็มในกระเพาะปัสสาวะ มีอาการปวดท้องน้อย และคลำได้ก้อนตึงที่ตรงกลางท้องน้อย ซึ่งจำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
    กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีอาการปัสสาวะเล็ด
    มีความผิดปกติเกี่ยวกับการหลั่งอสุจิ เช่น มีอาการปวดเวลาหลั่งอสุจิ หรือหลั่งอสุจิไม่ได้หรือได้น้อย (ทำให้ผู้ชายอาจเป็นหมัน)
    องตชาตไม่แข็งตัว (erectile dysfunction)
    การติดเชื้อ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบ  ฝีที่ท่อปัสสาวะ
    ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ) กำเริบซ้ำซาก
    นิ่วกระเพาะปัสสาวะ
    ไตบวมน้ำ (hydronephrosis)   
    ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน

บางรายอาจคลำได้ก้อนตึง ๆ (ของกระเพาะปัสสาวะที่มีปัสสาวะคั่ง) หรือมีอาการกดเจ็บเล็กน้อยที่บริเวณตรงกลางท้องน้อย หรืออาจตรวจพบองคชาตบวม หรือรอยตีบ (ในรายที่มีท่อปัสสาวะตีบตรงส่วนปลายชัดเจน) 

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจปัสสาวะ (ตรวจดูการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ หรือโรคหนองใน หนองในเทียม) เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ ถ้าจำเป็นอาจทำการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้กล้องส่องตรวจท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ (cystourethroscopy) การถ่ายภาพรังสีท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะด้วยการฉีดสารทึบรังสี (cystourethrogram) การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายสูงอายุ เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะทำการแก้ไขท่อปัสสาวะตีบด้วยการถ่างขยายท่อปัสสาวะ และการผ่าตัด โดยพิจารณาจากตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของของการตีบตัน

ในรายที่ท่อปัสสาวะตีบไม่รุนแรง และมีรอยตีบยาวน้อยกว่า 1 ซม. แพทย์อาจทำการถ่างขยายท่อปัสสาวะ โดยใช้สายสวน บัลลูน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งอาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง ถ้าไม่ได้ผล ก็จะต้องทำการผ่าตัดแก้ไข

สำหรับการผ่าตัด วิธีที่นิยม คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทางท่อปัสสาวะ (endoscopic urethrotomy) เข้าไปตัดเอาส่วนที่ตีบตันออกไป วิธีนี้มีผลข้างเคียงน้อย แต่มีโอกาสเกิดการตีบตันของท่อปัสสาวะได้ใหม่   

วิธีที่ได้ผลดี คือ การผ่าตัดซ่อมแซมท่อปัสสาวะแบบเปิด (open urethroplasty surgery) ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เหมาะสำหรับกรณีที่มีการตีบตันที่รุนแรง การรักษาโดยวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือท่อปัสสาวะมีการตีบตันซ้ำซาก วิธีนี้มีโอกาสน้อยมากที่ท่อปัสสาวะจะกลับมาตีบตันใหม่

บางกรณีแพทย์อาจทำการรักษาด้วยการใส่หลอดลวดตาข่าย (stent) ถ่างขยายค้างใว้ในท่อปัสสาวะ วิธีนี้ทำได้ง่ายแต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น การติดเชื้อ และมีโอกาสที่ท่อปัสสาวะกลับมาตีบตันซ้ำ ซึ่งทำการผ่าตัดแก้ไขได้ยากขึ้น แพทย์อาจเลือกใช้วิธีนี้ในรายที่มีการตีบตันที่รุนแรงและผู้ป่วยไม่ต้องการผ่าตัด

ผลการรักษา การรักษาด้วยการผ่าตัดมักจะได้ผลดี ช่วยให้หายเป็นปกติ มีโอกาสกำเริบใหม่น้อยมาก แต่บางรายอาจมีผลข้างเคียงจากการผ่าต้ด (เช่น เลือดออก ติดเชื้อ) บางรายอาจมีผลข้างเคียงหลังผ่าตัดในระยะยาว เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ องคชาตไม่แข็งตัว เป็นต้น               


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ออกทีละน้อย ออกเป็นหยด หรือถ่ายไม่ออกเลย ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นท่อปัสสาวะตีบ ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา
    มีอาการขัดเบา ปวดท้องน้อย ไข้ หนาวสั่น ปวดสีข้าง ปัสสาวะขุ่น หรือปัสสาวะไม่ออก
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ


การป้องกัน

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่ป้องกันได้ยาก เช่น การบาดเจ็บ ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

ส่วนน้อยเกิดจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ที่สำคัญ ได้แก่

    ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหนองในและหนองในเทียม ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (คือการใช้ถุงยางอนามัย) และหากเป็นโรคเหล่านี้ ควรรักษาให้หายโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เรื้อรัง
    ถ้าจำเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะ ควรเลือกใช้สายสวนขนาดเล็กที่พอเหมาะกับผู้ป่วย และควรคาสายสวนไว้เท่าที่จำเป็น อย่าให้นานเกินจำเป็น


ข้อแนะนำ

ผู้ที่ได้รับการตรวจรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ เช่น การใส่สายสวน การใช้เครื่องส่องตรวจ การผ่าตัด หรือการฉายรังสี ที่บริเวณท่อปัสสาวะ หากพบว่ามีอาการปัสสาวะลำบาก ออกทีละน้อย ออกเป็นหยด หรือถ่ายไม่ออกเลย ควรสงสัยว่าอาจมีภาวะท่อปัสสาวะตีบแทรกซ้อน ควรรีบกลับไปพบแพทย์โดยเร็ว



 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google