ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: ระวัง เสียเงินฟรี ! เผยวิธีเลือกฟันปลอม ให้เหมาะสมกับตนเอง  (อ่าน 87 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 589
    • ดูรายละเอียด
จัดฟันบางนา: ระวัง เสียเงินฟรี ! เผยวิธีเลือกฟันปลอม ให้เหมาะสมกับตนเอง

เชื่อว่าหลายๆคนคงรู้จัก ฟันปลอม กันเป็นอย่างดี และบางคนก็กำลังใส่อยู่ด้วยซ้ำ แต่เคยรู้กันหรือไม่ว่าฟันปลอมนั้นจริงๆแล้วมีกี่แบบ และมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง และที่สำคัญเลยคือ ฟันปลอมแบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ เหมาะสมกับการใช้ชีวิต และพฤติกรรม เพราะการเลือกฟันปลอมผิดอาจจะสร้างปัญหาในระยะยาว ทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นได้นั่นเอง

โดยในวันนี้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องทันตกรรม จะขอพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับฟันปลอมแต่ละแบบ เพื่อให้คุณผู้อ่านได้รับรู้ก่อนที่จะทำการใส่ฟันปลอม เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดนั่นเอง

ฟันปลอม คืออะไร ?

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า ฟันปลอม ก็คือ สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบฟันจริง โดยทางด้านการแพทย์จะเรียกว่า “ฟันเทียม” เพื่อใช้ทดแทนฟันตามธรรมชาติที่หายไปจากสาเหตุต่างๆ เพื่อให้สะดวกในการรับประทานสิ่งต่างๆในเรื่องการบดเคี้ยว เสริมบุคลิกภาพ ทำให้การออกเสียงชัดเจนขึ้น และป้องกันปัญหาฟันล้มเอียงของซี่อื่นๆอีกด้วย


ฟันปลอมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

โดยหลักๆทั่วไปแล้ว ฟันปลอม จะสามารถแยกออกได้ประมาณ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

ฟันปลอมชนิดถอดได้

ฟันปลอมแบบถอดได้นั้น คือฟันปลอมที่ใช้สันเหงือกเป็นที่รับแรง ซึ่งอาจจะใช้ทดแทนซี่ฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หรือมากกว่านั้นก็ได้ โดยฟันปลอมแบบถอดได้นั้นจะมีหลากหลายชนิดทั้งแบบชั่วคราว และแบบถาวร

     ฟันปลอมถอดได้แบบชั่วคราว จะใช้เมื่อทำการถอดฟันทันที และจะใช้ในส่วนของฟันหน้า
     ฟันปลอมแบบถาวร จะใส่เมื่อแผลถอนฟันมีความคงตัวไม่ยุบตัว
 

ฟันปลอมติดแน่น

    ฟันปลอมแบบที่ใช้ฟันข้างเคียงเป็นที่รับแรง ซึ่งมีหลากหลายชนิด หากว่าเป็นการซ่อมแซมฟันซี่ใดซี่หนึ่งเพียงซี่เดียว มักจะเรียกกันว่า “ครอบฟัน” แต่ถ้าหากว่าใช้ทดแทนฟันซี่ที่หายไปด้วย จะเรียกว่า สะพานฟัน หรือ สะพานฟันติดแน่น ซึ่งทันตแพทย์จะนิยมกรอฟันเพื่อทำการสวมใส่สะพานฟัน
 

รากเทียม

    รากเทียม คือ ฟันปลอมแบบที่ใช้เบ้ากระดูกเป็นตัวรับแรง โดยจะทำการฝังแกนไปที่เบ้ากระดูก และรอเวลาให้เบ้ากระดูกเกาะยึดแกนนี้ให้แน่น และจึงจะเริ่มหย่อนแกนอีกชิ้นลงไปที่แกนเดิม

ซึ่งการรักษานี้จะนิยมทำเพื่อทดแทนฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หรือทั้งปากเลยก็ได้ โดยรากเทียมจะใช้โลหะไทเทเนียม เพราะถือว่าเป็นโลหะที่ปลอดภัยและเข้ากับเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และรวดเร็ว


ข้อดี-ข้อเสีย ของฟันปลอมแต่ละชนิด ?

    ฟันปลอมถอดได้

ข้อดี

    ขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าแบบอื่น
     ทำความสะอาดง่าย เพราะสามารถถอดออกมาล้างได้ จึงทำให้สะอาดทั้งฟันจริงและฟันปลอม
     ฟันข้างเคียงที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่ถูกรบกวนเกินไป เพราะ ไม่ต้องกรอเยอะ
     อนาคตสามารถใส่แบบติดแน่นได้
     ในกรณีที่ฟันหน้าเบ้ากระดูกทรุดตัวมากๆ ฟันปลอมแบบถอดได้จะช่วยเสริมเหงือก ทำให้ริมฝีปากไม่ยุบ

ข้อเสีย

     ในกรณีที่เหงือกในช่องปากไม่เหมาะสม เช่น ปูดบวมเกินไป จะทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ฟันปลอมถอดได้ จึงใช้งานได้ไม่เต็มที่
     การบดเคี้ยวอาหาร ทดแทนฟันตามธรรมชาติได้เพียงแค่ 30% และหากใช้ไปเป็นระยะเวลานานๆ จะยิ่งทำให้บดเคี้ยวแย่ลงด้วยเช่นกัน
     เศษอาหารอาจจะเข้าไปติดใต้ฟันปลอมได้ง่าย ทำให้เกิดความรำคาญขณะรับประทานอาหาร
 

    ฟันปลอมติดแน่น

ข้อดี

     การบดเคี้ยวอาหาร ใกล้เคียงกับฟันตามธรรมชาติมาก
     ใส่สบาย ไม่เกิดความรำคาญเหมือนฟันปลอมแบบถอดได้
     หลุดยาก ทำให้เกิดความมั่นใจในเวลาใช้งานต่างๆ

ข้อเสีย

     มีราคาที่แพง
     ต้องทำการกรอฟันข้างเคียง และหากว่าฟันข้างเคียงล้มเอียงมากก็จะยิ่งทำการกรอฟันลึกจนใกล้เส้นประสาท อาจจะทำให้เสียวฟันได้
     หากว่าฟันข้างเคียงมีปัญหาอาจจะทำให้การรื้อถอนยากเนื่องจากว่าฟันปลอมแบบนี้จะทำการถอดยากมาก
     ทำความสะอาดยาก ต้องใช้ความพยายามสูง
     หากว่าทำฟันปลอมแบบนี้ และอยากเปลี่ยนเป็นแบบถอดได้จะทำได้ยาก หรือไม่สามารถทำได้เนื่องจากฟันรอบข้างถูกกรอไปแล้ว
 

    รากฟันเทียม

ข้อดี

     ไม่มีผลกระทบกับฟันข้างเคียง
     การบดเคี้ยวอาหารต่างๆ ใกล้เคียงฟันจริงเป็นอย่างมาก
     ไม่เกิดการผุซ้ำ

ข้อเสีย

     มีราคาที่แพงมาก เนื่องจากวิธีการทำซับซ้อนมาก
     หากว่ามีโรคทาระบบ เช่น เบาหวาน อาจจะเสี่ยงทำให้กระดูกเน่า
     ถ้าหากว่าล้มเหลว การแก้ไขจะรำบากมากๆ เพราะเป็นหัตการฝังแท่นเข้ากระดูก

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google