นอกจากจะต้องเช็คสุขภาพประจำปีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือ ความปลอดภัย! ของคนในบ้าน หลายๆท่านอาจมองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว แต่เรื่องของไฟฟ้านั้นอาจเกิดอันตรายโดยที่เราไม่รู้ตัว วันนี้แอดมินเลยอยากมาแนะนำวิธีเช็คเบื้องต้นว่า มีอะไรบ้างที่กำลังส่งสัญญาณให้เราทราบว่าอาจจะมีไฟฟ้ารั่วหรืออาจเกิดไฟช็อต
ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ
เราสามารถทดสอบด้วยการจดเลขมิเตอร์ไว้ก่อน จากนั้นปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้านโดยไม่ต้องดึงคัทเอาท์หรือเบรกเกอร์ลง สังเกตที่มิเตอร์ว่าแผ่นจานภายในมิเตอร์นั้นหมุนหรือไม่ ถ้าแผ่นจานภายในมิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือทิ้งไว้สักพักหากค่าตัวเลขมิเตอร์ขยับเพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าภายในบ้านของเรามีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น
เครื่องตัดไฟ ตัดไฟบ่อยครั้ง
เครื่องตัดไฟรั่ว หรือที่เรียกกันว่า (RCD) อุปกรณ์ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมีกรณีมีไฟรั่วเครื่องจะตัดไฟแบบอัตโนมัติ ดังนั้นอันดับแรกหากเครื่องตัดไฟรั่วตัดบ่อยครั้ง ให้ลองตรวจสอบโดยกรณีถ้าติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว ลักษณะตัวเดียวควบคุมทุกวงจร ให้ตรวจสอบทีละวงจร โดยเปิดเซอร์กิตเบรกเกอร์ทีละวงจร ถ้าพบว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานให้ตรวจสอบสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ต่อในวงจรนั้น
สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วรู้สึกว่าไฟดูด
เมื่อสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วรู้สึกว่าถูกไฟดูดอยู่บ่อยๆอาจเกิดจากไฟฟ้ารั่วในวงจรไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุณหภูมิในบ้านสูงขึ้นผิดปกติ
จากข่าวดังในปี พ.ศ. 2558 พบบ้านหนึ่งหลังในจังหวัดเชียงราย เกิดปรากฏการณ์พื้นบ้านร้อนปริศนาสูงถึง 42 องศา ทำใข่ลวกได้ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าคาดเกิดจากไฟรั่ว และจากการตรวจสอบจาก เจ้าพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พบว่า มีสายไฟรั่วตรงบริเวณห้องน้ำของบ้าน และยังพบว่า มีการโยงสายไฟผ่านด้านบนของฝ้าเพดานที่เป็นยิปซั่มและแผ่นอลูมิเนียมโดยไม่ได้ห่อหุ้มด้วยท่อร้อยสายไฟไปทั่วบ้านด้วย จึงคาดว่า กระแสไฟที่รั่วออกมาอาจเป็นตัวทำให้อุณหภูมิที่พื้นห้องเพิ่มสูงขึ้น
ไขควงวัดไฟ สิ่งที่ควรมีไว้ติดบ้าน
อุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านเพื่อเช็กระบบไฟฟ้าว่าไฟรั่วหรือไม่ นั้นคือ ไขควงวัดไฟ หรือ ไขควงลองไฟ ทางไฟฟ้าโปรจะพามารู้จัก ไขควงวัดไฟ ให้มากขึ้นกัน
ไขควงวัดไฟ หรือ ไขควงลองไฟ มีกี่แบบ ปกติแล้วจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ไขควงวัดไฟแบบธรรมดาและไขควงวัดไฟแบบตัวเลขดิจิตอลซึ่งแบบที่นิยมใช้ที่สุดคือ ไขควงวัดไฟแบบธรรมดาที่จะมีปลายไขควงเป็นโลหะรูปร่างแบน ด้ามจับทำจากแก้ว หรือพลาสติกที่ไม่นำไฟฟ้า มีปุ่มโลหะอยู่บริเวณก้นด้าม ส่วนภายในด้ามจะบรรจุหลอดนีออน และตัวต้านทานต่ออนุกรม จากปลายไขควงเช็คไฟมาที่ปุ่มโลหะบริเวณก้นด้าม เพื่อทำหน้าที่แสดงผลแรงดัน
การใช้งานของไขควงวัดไฟ
- นำปลายไขควงแตะวัตถุที่จะทดสอบก่อน แล้วจึงใช้นิ้วแตะปุ่มโลหะบริเวณด้ามจับ ในขณะที่ถอดรองเท้า และไม่ยืนอยู่บนพื้นฉนวน เพื่อให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร และสามารถแสดงค่าแรงดันที่ถูกต้องได้
- ระวังอย่าใช้นิ้วแตะไขควงส่วนที่เปลือย ควรใช้ไขควงที่มีการหุ้มฉนวนให้เหลือเฉพาะปลายที่จะใช้สัมผัส ถ้าไม่มีอาจต้องใช้พันเทปพันสายไฟพันให้รอบเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นทุกๆ ครั้งที่ใช้ต้องระมัดระวังว่าไขควงอาจชำรุด หรือลัดวงจรภายในได้จึงแตะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ข้อควรระวังในการใช้งาน
1.เลือกไขควงวัดไฟที่มีขนาดเหมาะสมกับชนิดของไฟฟ้า
2.การจับไขควงวัดไฟขณะใช้งานต้องระมัดระวังไม่ไปแตะที่บริเวณปลายไขควงส่วนที่เปลือยเด็ดขาด
3. ทุกครั้งที่ใช้งานไขควงวัดไฟ ให้ระมัดระวัง และนึกเสมอว่าอาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ เช่น ตัวไขควงวัดไฟอาจชำรุด หรือมีการลัดวงจรภายในได้ การใช้งานจึงต้องแตะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4. ตรวจสอบไขควงวัดไฟให้ใจว่าสามารถใช้ านได้ปกติ จึงควรทดสอบก่อนการใช้งานจริง โดยทดสอบกับส่วนที่รู้ว่ามีไฟแน่นอนเสียก่อน เช่น การแตะปลายไขควงเช็คไฟ เข้าไปในรูเต้ารับผนัง จะมีรูหนึ่งเท่านั้นที่มีไฟ เป็นต้น
5. ในสถานการณ์ที่มีขั้วไฟฟ้าเปิดโล่ง หรือเปลือย เช่น บริเวณแผงสวิตช์ หรือเต้ารับที่เปิดฝาออก ต้องใช้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพที่มีความชำนาญเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการวัดไฟให้เท่านั้น
ไขควงวัดไฟตัวนี้ ถือเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีไว้ติดบ้านเป็นอย่างมาก เพราะอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆนี้สามารถช่วยเซฟชีวิตและความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้
ซ่อมบำรุงอาคาร: เช็คก่อนช็อต! สัญญาณเตือนไฟรั่ว อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/