ผู้เขียน หัวข้อ: เมนูอาหารลด โรคความดันโลหิตสูง  (อ่าน 172 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 589
    • ดูรายละเอียด
เมนูอาหารลด โรคความดันโลหิตสูง
« เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2023, 14:35:58 pm »
ความดัน​โลหิต​สูง ​นั้นเป็นโรคที่อันตรายมากโรคหนึ่ง​ เนื่องจาก​ในช่วงแรกผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยมีอาการใด ๆ​ กว่าจะรู้ตัวก็เกิดภาวะแทรกซ้อน​ที่รุนแรงอื่น ๆ​ ตามมาเสียแล้ว ความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสาธารณสุขทั่วโลก​ รวมถึงประเทศไทย​ด้วย​ เนื่องจาก​สถานการณ์​โรคความดันโลหิตสูง​จะสืบเนื่อง​กับ​อายุ​ เมื่ออายุ​เพิ่มมากขึ้นก็มีความเสี่ยง​ที่จะเป็น​โรคความดันโลหิตสูง​มากขึ้นด้วยเช่นกัน​

 
โรค ความดันโลหิตสูง คือ ?

ความดันโลหิตสูง คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ​ ของ​ร่างกาย​ โดยจะวัดได้​ 2 ค่า​ ได้แก่

– ค่าความดันโลหิตตัวบน​: เป็นค่าความดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว

– ค่าความดันโลหิต​ตัวล่าง​: เป็นค่าความดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว

สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง​นั้น​ ค่าที่วัดได้จะมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตร​ปรอท​ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ​ ตามมาได้​ เช่น​ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง​ หรือไตวาย​ เป็นต้น

 
วิธีการ​รับประทานอาหารที่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรค​ ความดัน​โลหิตสูง

โรค ความดันโลหิตสูง มักจะเกิดขึ้นมากในผู้สูงอายุ และถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง​ ต้องดูแลรักษาตัวเองอย่างดี​ และสำหรับ​ในเมืองไทยเราถือว่า มีผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการดูแลเรื่องของอาหารการรับประทาน หรือโภชนาการถือว่ามีส่วนสำคัญมาก ๆ เรามาลองดูกันดีกว่า​ว่า​ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง​นั้นควรรับประทานอาหา​รอย่างไร

หลักการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หรือ DASHDiet (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet)

หลักการสำคัญของการรับประทานอาหารแบบ DASH คือ ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียม ไขมันอิ่มตัว ไขมันรวมและคอเลสเตอรอลลง และเพิ่มการรับประทานใยอาหาร โปรตีน แคลเซียม แร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง โปแตสเซียมและแมกนีเซียม ที่มีผลการศึกษาถึงการลดความดันโลหิตสูงได้


สัดส่วนการรับประทานอาหารตามหลัก DASH

สำหรับสัดส่วน​การรับประทาน​อาหาร​ตามหลัก DASH ใน 1 วัน จะประกอบด้วย

    ธัญพืชชนิดต่าง ๆ โดยเน้นเป็นธัญพืชไม่ขัดสี 7-8 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 7-8 ทัพพี) เพื่อเพิ่มการรับประทานใยอาหารที่ช่วยการขับถ่ายและลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
    ผักและผลไม้อย่างละ 4-5 ส่วนบริโภค (หรือผักประมาณ 4-5 ทัพพี และผลไม้ 3 ส่วน) เพิ่มการรับประทานใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย โดยเน้นรับประทานผักและผลไม้สด หลีกเลี่ยงผักและผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ
    เนื้อสัตว์ไขมันต่ำอย่างเนื้อปลา 2-3 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 4-6 ช้อนกินข้าว) รับประทานเนื้อแดงในปริมาณเหมาะสม การตัดส่วนไขมันหรือหนังของเนื้อสัตว์และเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำจะช่วยลดการบริโภคไขมัน นอกจากนี้การเพิ่มการรับประทานเนื้อปลาจะช่วยเพิ่มการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และต้านการอักเสบ ซึ่งก็จะช่วยดูแลหลอดเลือดและบำรุงหัวใจได้อีกด้วย
    น้ำมันหรือไขมัน 2-3 ส่วนบริโภค (หรือไม่เกิน 6 ช้อนชา) การรับประทานไขมันที่มากเกินไปก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ แต่ถึงอย่างนั้นไขมันยังเป็นสารอาหารจำเป็นที่ช่วยให้การดูดซึมวิตามินชนิดที่ละลายน้ำ รวมถึงเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
    ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่าง ๆ เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง เนื่องจากถั่วชนิดต่าง ๆ มีกรดไขมันชนิดที่ดีอยู่ ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9 แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป แม้ว่าจะเป็นแหล่งของไขมันที่ดี แต่เนื่องจากมีพลังงานที่สูง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ควรรับประทานประมาณ 30 กรัมหรือ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน

เมนูอาหารลด โรคความดันโลหิตสูง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google