ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำวิธีตรวจสุขภาพบ้าน ฉบับเจ้าของบ้าน  (อ่าน 167 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 589
    • ดูรายละเอียด
แนะแนวทางตรวจสุขภาพบ้าน ทั้งที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี และ 5-15 ปี เพื่อหาจุดบกพร่องขณะตรวจสภาพบ้านและปรับปรุงซ่อมแซมตามสมควร ให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างราบรื่นปลอดภัย

   
"บ้าน" ไม่ว่าจะถูกสร้างให้แข็งแรงเพียงใด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมต้องเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เจ้าของบ้านจึงควรตรวจสอบสุขภาพของตัวบ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดการเกิดปัญหาบานปลายในอนาคต โดยการตรวจสอบสภาพบ้านจะแบ่งตามช่วงอายุของบ้าน ดังนี้

   
การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 0-5 ปี

    ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักเกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้าง เรียกว่า Defect อาทิ การแตกร้าวของผนังจากการฉาบ หรือเลือกใช้ปูนฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือความบกพร่องของอุปกรณ์ภายในบ้านที่มาจากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ อาจพบปัญหาดินรอบบ้านทรุดตัว จนเกิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งหากเป็นบ้านในโครงการและอยู่ในช่วงรับประกัน ให้สอบถามทางโครงการว่าปัญหานี้อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันหรือไม่ แต่หากเป็นบ้านที่สร้างโดยผู้รับเหมาทั่วไปก็อาจจะพิจารณาซ่อมแซมเป็นจุด ๆ ไป


การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี

เป็นช่วงเวลาควรเริ่มทำการตรวจสอบและบำรุงรักษา ซึ่งหากแก้ไขได้ทันจะช่วยลดการเกิดปัญหาที่อาจบานปลายในอนาคตได้ โดยเน้นตรวจ 3 จุดสำคัญ ได้แก่ ภายนอกบ้าน ภายในบ้าน และโครงสร้างของบ้าน ซึ่งมีรายละเอียดแยกย่อยกันไป

   
การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสภาพพื้นที่ภายนอกบ้าน

1. รอยร้าวที่ผนังบ้าน สำหรับรอยร้าวขนาดเล็กที่เห็นด้วยตา เป็นรอยแตกยาวไปมาแบบไร้ทิศทาง สร้างความเสียหายให้ผนังและสีภายนอก โดยเฉพาะทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน เช่น ทิศใต้ และทิศตะวันตก รอยร้าวชนิดนี้ไม่อันตราย ไม่ส่งผลกับโครงสร้างอาคาร แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้น้ำฝนเข้าสู่อาคารได้ ในการแก้ไข ให้แต่งรอยแตกร้าวให้กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็นรูปตัววี พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นทำการทารองพื้นปูนเก่า และเก็บรอยร้าวด้วยวัสดุอุดโป๊วที่มีความยืดหยุ่นสูง ก่อนทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตามระบบการทาสีที่ถูกต้อง แต่หากเป็นรอยเพียงเท่าเส้นผมให้ทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตัวสูงทาทับปิดรอยแตกร้าวได้เลย

2. ตรวจการรั่วซึมที่ผนัง รอยรั่วบริเวณมุมประตูหน้าต่างมักมาพร้อมรอยแตกร้าวบริเวณมุมวงกบ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน อาจเพราะไม่ได้ใส่ลวดกรงไก่ในขั้นตอนก่อฉาบ จึงสร้างรอยร้าวเวลาใช้งานประตูหรือหน้าต่างได้ง่าย การใส่ลวดกรงไก่จะช่วยป้องกันรอยแตกร้าวอันเป็นสาเหตุรั่วซึมในส่วนนี้ได้



3. รอยรั่วบริเวณรอยต่อผนังชนท้องคาน จะเห็นรอยแตกร้าวเป็นเส้นระหว่างใต้คานกับผนัง ทำให้น้ำฝนไหลเข้าตัวบ้าน สาเหตุมักเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง การผิดขั้นตอน หรือเร่งฉาบปูนเร็วเกินไป ทำให้ปูนเกิดการหดตัวลง แก้ไขได้โดยใช้กาว PU หรืออะคริลิกอุดระหว่างร่อง ความยืดหยุ่นของสารเชื่อมประสานจะช่วยอุดรอยร้าวได้



4. รอยรั่วบริเวณรอยต่อแนวดิ่งข้างเสา อาจเกิดจากการเก็บงานรอยต่อได้ไม่ดี หรือร้ายแรงหน่อยคือ ไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งระหว่างเสากับผนังบ้าน แก้ไขได้โดยสกัดรอยแตกร้าวให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปตัววี จากนั้นยาด้วย PU แล้วทาสีเก็บความเรียบร้อย และควรใส่เหล็กหนวดกุ้งทุกครั้งในการก่อผนังชนเสา



5. การทรุดตัวของดินและพื้นรอบบ้าน หลังจากที่พบการทรุดตัวของดินรอบบ้านในช่วง 5 ปีแล้วนั้น ปัญหาที่มักตามมาคือ ปัญหาพื้นรอบบ้านและพื้นจอดรถมีการทรุดตัวเสียหาย เนื่องจากพื้นส่วนนี้มักไม่ได้ ลงเสาเข็ม หรือลงเสาเข็มแบบสั้นที่อาศัยเพียงแรงฝืดในชั้นดินช่วยพยุงน้ำหนักของพื้นไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปพื้นดินมีการทรุดตัวตามธรรมชาติ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กตำแหน่งนั้นจึงทรุดตาม โดยเริ่มสังเกตได้จากระดับที่เอียงผิดปกติ และหากมีการทรุดมากขึ้นจะเห็นรอยแตกร้าวบริเวณพื้นตามมา ส่วนวิธีการแก้ไขนั้น หากเป็นพื้นจอดรถควรทำการลงเข็มเพื่อช่วยลดการทรุดตัวในอนาคต และควรให้แยกต่างหากจากตัวบ้านโดยไม่เชื่อมกัน เพื่อป้องกันความเสียหายกรณีที่มีการขยับตัวของโครงสร้างไม่เท่ากัน


6. ตรวจสอบหลังคาเพื่อป้องกันสัตว์เล็ก เช่น นก หนู ค้างคาว กระรอก ที่เข้ามาทำรังและกัดกินโครงสร้าง ทำให้หลังคาบ้านโดนทำลาย ผุพังง่าย ก่อความรำคาญทั้งกลิ่นและเสียง รวมถึงทำให้บ้านสกปรก ทั้งนี้ในการตรวจสอบให้สังเกตรายละเอียดต่างๆ คือ

        ครอบข้าง ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง

        สันหลังคา ไม่ชำรุด เเตกร้าว เชิงชายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก

        สันตะเข้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง

        ครอบปิดปลายสันตะเข้ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง

        ฝ้าชายคา ไม่ชำรุด เเตกหักเสียหาย

ส่วนการป้องกันแก้ไขแนะนำให้ติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ต่างๆ เข้ามาทำลายโครงสร้างหลังคาหรือเข้ามาอยู่อาศัยได้ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 5 ตำแหน่ง ได้แก่ แผ่นปิดครอบข้าง แผ่นปิดครอบสันหลังคา แผ่นปิดเชิงชาย แผ่นปิดครอบสันตะเข้ แผ่นปิดปลายสันตะเข้



7. การรั่วซึมที่หลังคา

สังเกตรูปทรงหลังคาว่าได้ระดับ มีความสมมาตรดีหรือไม่ กระเบื้องมุงหลังคาติดตั้งได้แนว ไม่เผยอ ไม่มีรอยแตกร้าว ครอบหลังคาทั้งแนวสันหลังคาและตะเข้สันปิดมิดชิด ถ้าครอบเปียกให้สังเกตว่าปูนใต้ครอบมีรอยร้าวหรือไม่ เพราะเป็นจุดที่น้ำซึมผ่านได้ ส่วนภายในบ้านให้มองหาคราบน้ำบนฝ้าชายคาว่ามีหรือไม่ และลองเปิดฝ้าเพดานชั้นบนแล้วสังเกตดูว่ามีช่องของแสง หรือคราบน้ำในโถงหลังคาหรือไม่ ในการแก้ไขควรเรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและซ่อมหลังคาตามมาตฐานการติดตั้งของประเภทหลังคา ชนิดนั้น ๆ


การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสภาพในบ้าน


1. พื้นไม้กับปัญหาเรื่องปลวก ตรวจสอบพื้นไม้ภายในบ้านว่ายังใช้งานได้ดี มีปัญหาเรื่องปลวกหรือไม่ สังเกตรอยทางเดินปลวกภายในบ้าน เศษปีกหรือมูลของแมลงเม่าภายในตัวบ้าน เสียงปลวกที่กำลังกินไม้ ส่วนประตูหน้าต่างไม้หากมีรอยผุก่อน เริ่มฝืดและเปิดปิดยากขึ้น อาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปลวกได้ ในการแก้ไขควรเรียกบริษัทกำจัดปลวกมาทำการฉีดพ่นน้ำยาทั้งภายนอกและภายในบ้าน ทุก 1-3 ปี หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม

   
2. พื้นกระเบื้องเซรามิก เมื่อใช้งานไปนานอาจเกิดปัญหากระเบื้องหลุดล่อนหรือยาแนวหลุด วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นสามารถทำการแก้ไขเป็นจุดๆ ได้ แนะนำว่าซื้อกระเบื้องเซรามิกในเฉดสีเดียวกันสำรองไว้แต่แรกเผื่อใช้ปรับปรุงหรือซ่อมแซมในอนาคต (หากซื้อภายหลังอาจได้เฉดสีไม่ตรง หรือบางรุ่นอาจเลิกผลิต)

บริการติดตั้งพื้นภายในบ้าน

    การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสอบโครงสร้างบ้านเก่า

    เน้นตรวจหารอยแตกร้าวขนาดใหญ่ตามตำแหน่งโครงสร้าง เช่น เสา คาน พื้น รวมถึงสภาพผิดปกติที่เป็นอันตรายกับโครงสร้างดังต่อไปนี้

        พบรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งเสา คาน พื้น ร้ายแรงหน่อยอาจเห็นเหล็กเสริมภายในโครงสร้าง

        พบรอยแตกร้าวหรือรอยแตกเฉียง 45 องศาที่ผนัง

        พบรอยแยกแตกแยกระหว่างโครงสร้างบ้านเดิมกับส่วนต่อเติม

        พบเหล็กเส้นที่ตำแหน่งท้องพื้นชั้นดาดฟ้า

        พบการล้มเอียงของพื้น หรือผนังของตัวบ้าน

ในการตรวจสอบโครงสร้างบ้านเก่า หากพบลักษณะดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างของบ้านอาจมีปัญหา และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย แนะนำให้ปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อทำการแก้ไข

จะเห็นได้ว่าการตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี นั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย หากเจ้าของบ้านไม่ถนัด อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ และสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยมานานหลายปี แนะนำให้ตรวจสอบงานระบบด้วย โดยเฉพาะระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในบ้าน



แนะนำวิธีตรวจสุขภาพบ้าน ฉบับเจ้าของบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google