ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ไว้ป้องกันได้ ความเสี่ยงในการจัดฟัน  (อ่าน 45 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 589
    • ดูรายละเอียด
เชื่อว่าหลายๆท่านคงมองเห็นด้านดีขอการจัดฟัน ซึ่งเป็นการรักษาทางทันตกรรม เพื่อให้ฟันของท่านที่มีความผิดปกติกลับมาเรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามได้ โดยการใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม

ซึ่งในสมัยนี้ ได้มีนวัตกรรมทางทันตกรรมสุดล้ำสมัยเกิดขึ้นมามากมาย โดยสามารถทำการจัดฟันได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ ที่มีอายุประมาณ 4 ขวบ โดยเครื่องมือทรงประสิทธิภาพนี้ก็คือ EF Line นอกจากจะทำให้ฟันที่ผิดปกติของเด็กเข้าที่เป็นระเบียบสวยงามแล้ว ยังสามารถแก้พฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพช่องปากได้อีกด้วย

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทำให้ได้ทราบว่า วงการทันตกรรมไม่หยุดที่จะพัฒนาข้อด้อยต่างๆให้กลายเป็นข้อดีที่หลายๆท่านตามไม่ทัน

แต่ในวันนี้ทางด้าน Clinic จะมาขอพาท่านผู้อ่านมาทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการจัดฟัน ทุกอย่างแม้ว่าจะมีข้อดีมากมาย แต่ข้อด้อยก็ต้องมีคู่กัน ซึ่งท่านจะสามารถเรียนรู้และป้องกันไม่ให้เกิดได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ผลข้างเคียงของการจัดฟัน ?

ต้องขอบอกก่อนเลยว่าการจัดฟันนั้นถือว่าเป็นการรักษาทางทันตกรรมที่มีความปลอดภัยสูงมากๆ แต่ความเสี่ยงบางประการก็อาจจะมีอยู่ ซึ่งท่านสามารถแก้ไขป้องกันได้ หากทราบว่าความเสี่ยงเหล่านั้น คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


– ความเสี่ยงในระยะสั้น

อุปกรณ์ในการจัดฟันนั้นจะไม่มีทางที่แนบสนิทกับฟันของท่านแน่นอน ในบางส่วนรอบฟันอาจเกิดช่องว่างเล็กๆซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเฝ้าระวัง เพราะ ช่องเหล่านั้นง่ายต่อการสะสมเศษอาหารที่รับประทานเข้าไป และถือว่าเป็นการเพิ่มคราบแบคทีเรียและจุลินทรีย์มากมาย ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการทำลายชั้นเคลือบฟันเนื่องจากการสูญเสียแร่ธาตุบนผิวฟันบางชนิด ส่งผลให้เกิดคราบด่างขาวแบบถาวรทิ้งไว้หลังจากที่นำอุปกรณ์ในการจัดฟันออก รวมถึงปัญหาฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบร้ายแรงตามมาได้ง่าย


– ความเสี่ยงระยะยาว

การจัดฟันอาจจะส่งผลให้รากฟันลดลง เนื่องจากว่าในขณะที่ฟันถูกใส่อุปกรณ์จัดฟันจะถูกบีบให้เกิดการเคลื่อนไหวตลอดเวลาทีละน้อยจนท่านไม่ทันได้สังเกตเห็น และกระดูกในบริเวณที่ฟันเคลื่อนที่ก็จะหายไปเรื่อยๆ โดยตามธรรมชาติร่างกายจะผลิตกระดูกในส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ทดแทน ในกระบวนการนี้เองที่อาจจะทำให้มีความเสี่ยงสูญเสียรากฟันไปอย่างถาวร ส่งผลให้ฟันไม่แข็งแรง แต่ถึงอย่างไรก็ตามทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบวินิจฉัยในส่วนนี้อย่างละเอียดทุกครั้งอยู่แล้ว จึงทำให้ปัญหาความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากๆ นอกจากว่าท่านจะไม่ไปพบทันตแพทย์ตามนัดเป็นประจำ ก็อาจจะทำให้ความเสี่ยงตรงนี้เพิ่มมากขึ้นได้นั่นเอง


– ความเสี่ยงด้านพฤติกรรม

เมื่อทำการถอดอุปกรณ์จัดฟันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องทำต่อก็คือการใส่รีเทนเนอร์เพื่อไม่ให้ฟันคืนสภาพไม่เป็นระเบียบอีกครั้ง ซึ่งระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์นี้จะขึ้นอยู่กับทันตแพทย์วิเคราะห์ แต่โดยส่วนใหญ่และจะใช้เวลาในการใส่รีเทนเนอร์ประมาณ 6 เดือน หรือมากกว่านั้น

ซึ่งหลายๆท่านรู้สึกไม่สบายช่องปากในการใส่รีเทนเนอร์ในครั้งแรกๆ ทำให้เกิดความไม่อยากใส่หรือใส่ไม่สม่ำเสมอ พฤติกรรมนี้พบบ่อยเพราะอาจจะคิดว่าใส่บ้างไม่ใส่บ้างคงไม่เป็นอะไร แต่แท้ที่จริงแล้ว เมื่อถอดอุปกรณ์จัดฟันออกใหม่ๆ ฟันที่เรียงตัวกันสวยงามนั้นยังไม่มีความแข็งแรงและสามารถล้มได้ง่าย ผลสุดท้ายฟันอาจจะกลับสู่สภาพเดิม ทำให้หลายๆท่านต้องกลับมาทำการจัดฟันใหม่อีกครั้ง เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา


ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถือได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่หลายๆท่านที่ทำตามทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดอาจจะไม่เคยประสบปัญหาเหล่านี้ แต่ก็ถือได้ว่ามีจำนวนไม่น้อยที่จัดฟันเสร็จแล้วต้องกลับมารักษาส่วนอื่นๆต่อเพราะผลกระทบที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงในการจัดฟัน แต่เมื่อท่านทราบแล้วและป้องกัน ความเสี่ยงเหล่านี้ก็จะลดลงจนแทบจะไม่เกิดขึ้นกับท่านเลยก็ได้

การจัดฟันทุกครั้ง และทุกคน ควรทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด และมาตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง



รู้ไว้ป้องกันได้ ความเสี่ยงในการจัดฟัน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google